เบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง เก่าแก่ แท้ได้อายุ สภาพผ่านการใช้ ไม่มีหักหรือซ่อม องค์นี้เป็นของคุณวีรพรรณ อยู่ที่ กทม. สมาชิกของเว็บไซต์นี้ นำมาให้เช่าบูชา หากท่านใดสนใจ ติดต่อได้ตามเบอร์โทร.ที่ได้แจ้งไว้แล้ว
เบี้ยแก้เป็นเครื่องรางชั้นเยี่ยมที่พุทธคุณโดดเด่นในทางป้องกันเรื่องคุณไสยกันผีสาง ลมเพลมพัดและอื่น ๆ อีกมากมาย กล่าวคือ ป้องกันสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่เป็นภัยอันตรายต่าง ๆ เข้าตัว หรือในทางแก้ไขก็คือ ผู้ที่โดนของ โดนผีเข้า ก็ใช้เบี้ยแก้ทำน้ำมนต์ประพรมหรือดื่มกิน อาการต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น ถือว่าเบี้ยแก้มีคุณวิเศษครอบคลุมทั้งป้องกันและปัดเป่าจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง ผู้ที่พกพาเบี้ยแก้ติดตัวไปจะแคล้วคลาด รอดพ้นจากภัยเรื่องเหล่านี้
เบี้ยแก้ที่เป็นปฐมแห่งเบี้ยแก้ทั้งปวง ก็คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง ถือว่าเป็นต้นตำรับของเบี้ยแก้ทั้งหมด รองลงไป ก็คงจะเป็นเบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ตามประวัติ หลวงปู่รอด วัดนายโรงได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่แขก เพื่อเรียนวิชาอาคมต่าง ๆ และวิชาที่โดดเด่นที่สุด ก็คือ วิชาทำเบี้ยแก้ ที่ทำให้หลวงปู่รอดโดดเด่นและโด่งดังมาถึงทุกวันนี้
วิธีการสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง
การสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง หลวงปู่จะมอบเบี้ยแก้ให้แก่ผู้ศรัทธามาขอให้ท่านทำให้เท่านั้น ในสมัยนั้นผู้ที่ต้องการเบี้ยแก้จะต้องจัดหาสิ่งของ 4 อย่างไปถวายให้หลวงปู่จัดทำ ได้แก่ เบี้ยพู, ปรอท, ชันโรง และแผ่นตะกั่ว
กรรมวิธีการสร้าง หลวงปู่จะนำปรอทมาบรรจุในตัวเบี้ยและปิดปากเบี้ยด้วยชันโรง แล้วใช้แผ่นตะกั่วหุ้มปิดตัวเบี้ยทั้งตัว หรือจะหุ้มแบบเปิดหลังไว้ก็มี จากนั้นก็จะจารอักขระบนแผ่นตะกั่ว ส่วนใหญ่จะลงยันต์ตรีนิสิงเห, ยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ และเอาไปปลุกเสกจนเสร็จสมบูรณ์ และแจกจ่ายคืนแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของที่มาขอและส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับเบี้ยแก้จากหลวงปู่รอด จะนำเบี้ยแก้ไปให้ช่างถักเชือกเอง มีทั้งถักหุ้มทั้งตัว หรือถักเปิดหลังเบี้ยไว้ส่วนหูก็มีทั้งถักหูเดียว และถัก 2 หู เมื่อถักเสร็จก็ไปลงรักหรือทายางไม้ บางลูกก็ลงรักปิดทอง เพื่อเป็นการรักษาเบี้ยให้คงทนอยู่ได้นาน ๆ
หลักการพิจารณาเบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
1. รูปทรง เบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง รูปทรงเบี้ย โดยเฉพาะหลังเบี้ยจะไม่สูงโด่งมากนัก และจะแลดูยาวเรียว ซึ่งตรงข้ามกับเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว รูปทรงหลังเบี้ยค่อนข้างจะโด่งและแลดูสั้น
2. ลายถักเชือกส่วนใหญ่จะเป็นลายถักแบบเรียบ ๆ เป็นแนวยาวไปบรรจบที่ก้นเบี้ย บางลายก็จะเพิ่มลายถักแบบขวาง 2-4 เส้นก็มี และลายถักแบบเปิดหลังเบี้ยก็มี ลายถักจะสรุปได้ยาก เพราะตอนหลวงปู่ทำเสร็จก็ส่งคืนเจ้าของที่มาขอให้ทำ โดยเป็นแค่เบี้ยเปลือยไม่ได้ถักเชือก แล้ว ผู้ที่มาขอให้หลวงปู่ทำก็ไปให้ช่างถักเชือกกันเอง ฉะนั้น ผู้เขียนอยากจะให้ผู้ที่จะศึกษาให้ดูรูปตามหนังสือเครื่องรางบ่อย ๆ แล้วจดจำรูปแบบและลายถักต่าง ๆ และจะเข้าใจเอง
3. ห่วงหรือหูเบี้ย มีทั้งแบบถักหูเดียวหรือสองหูก็มี หรือแบบห่วงโลหะทองแดง แบบสายวัดกลางบางแก้วก็มี
4. ความเก่าของเชือก, รัก, ชาด, ยางไม้, ทองเก่า เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดส่วนใหญ่จะใช้เชือกที่ทำจาก เชือกปอ, เชือกป่าน เพราะว่าสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หรือเบี้ยแก้ปู่รอด จะใช้เชือกประเภทนี้เป็นหลัก ส่วน รัก, ชาด, ยางไม้, ทองเก่า วัสดุที่ใช้ทาผิวทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ต้องไม่มีความเงาบนพื้นผิว และต้องมีความหม่นแห้งเก่าสมกับอายุเป็นร้อยปี





หมายเหตุ เครื่องรางของขลังตามโครงการสมาชิกฝากขาย เว็บไซต์ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น |